วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 16

ประเมินใช้เครื่องมือบล็อก
 การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ  ดิฉันมีความเห็นว่าได้เมื่อทำงานแต่ละชิ้นงานทำด้วยความตั้งใจและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาอย่างเต็มที่เพื่อให้งานแต่ละชิ้นออกมาอย่างถูกต้อง
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ได้ความรู้มากและสามารถนำไปไช้ในวิชาชีพครูได้ ได้เรียนรู้เกียวกับการใส่เนื้อหา ใส่เพลง การทำลิงค์ต่างๆ เป็นต้น และดิฉันได้รับความรู้มาก
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบสะดวกรวดเร็วมากเป็นสือที่ทันสมัยประหยัดค่าไช้จ่ายในการทำงาน และได้แลกเปลียนความคิดเห็นกับผู้อืน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)

กิจกรรมที่ 15

การสอบ ครั้งที่ 2
คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
 1. Classroom Management       การจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียน การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ 
 2. Happiness Classroom   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Educationการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)    หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.formal Education  การศึกษาในระบบ (Formal Education)   เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน
5. Non-formal education     การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning     การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7. Graded       การเรียนระดับชั้น       
8. Policy education       นโยบายการศึกษา
9. Vision วิสัยทัศน์     คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission    พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการตามเป้าหมาย
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. Backward design     การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 14.effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15. efficiency     คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16.Economy เศรษฐกิจ (Economy)     คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค
17. Equity     ความเสมอภาพ
18. Empowerment      การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20 project      แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย
21.Actives การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22.Leadership ความสามารถในการเป็นผู้นำ
23. Leaders   ผู้นำ
24. Follows    ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations สถานการณ์
26. Self awareness การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
27. Communication   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness การยืนยันในความคิดตน
29. Time management การบริหารเวลา
30.  POSDCORB หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ
32. Informal Leaders ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
33. Environment  สภาพแวดล้อม
34. Globalization   โลกาภิสวัตถ์ การแพร่หลายไปทั่วโลก
33. Competency ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural   ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ
35. Individual Behaviorพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39. Six Thinking Hats หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
40. Classroom Action Research    การวิจัยในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ  ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Mind Mapping สอนให้เกิดความคิดองค์ควารู้ใหม่และกระจายองค์ความรู้เป็นของตนเองแล้วสรุปออกมาเป็นแผนผังความคิดและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆด้วยและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กันรูปแบบหนึ่ง  ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการ เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันผังความคิด (Mind Map)
ข้อดี  Mind Mapping
1.ช่วยประกอบในการเรียนการสอนของนักเรียน
2.ใช้ในกรณีการตัดสินใจทางเลือกหลายๆทาง
3.ช่วยในการสรุปงานทุกอย่าง
4.ใช้รวบรวมข้อมูลความคิด แนวคิด
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
หมวกขาว : ข้อเท็จจริง ตัวเลข ที่เป็นกลาง ไม่ปะปนกับข้อคิดเห็น หรืออารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลด้านใดทั้งสิ้น
หมวกแดง : อารมณ์ความรู้สึก
หมวกดำ : เหตุผลด้านลบ
หมวกเหลือง : เหตุผลด้านบวก
หมวกเขียว : ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ
หมวกฟ้า : การควบคุมขั้นตอนการคิด และขั้นตอนการใช้หมวกทั้ง 6 ใบ
ในการคิดแบบหมวก6ใบการคิดเพียงครั้งละด้านจะช่วยให้แยกความรู้สึกออกจากเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ออกจากการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ผู้คิดสวมหมวกเพียงใบหนึ่งใบใดจาก 6 ใบ เพื่อจำกัดให้คิดเพียงครั้งละด้าน จึงสามารถชักนำ และควบคุมกระบวนการทางความคิดและกระบวนการระดมความคิด ทั้งกรณีมีผู้คิดคนเดียว และกรณีมีผู้คิดร่วมกันหลายคน โดยเฉพาะในที่ประชุมที่จะมีประโยชน์มาก หากให้บุคคลเปลี่ยนหมวกเพื่อไปคิดในด้านที่ต่างไปจากที่เขาเคยชิน เพื่อเป็นการเปลี่ยนมุมมองของแต่ละคนแต่งในการเขียนโครงงานเราต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
1.  ชื่อโครงงาน 
2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน  
   3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน 
4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน  
 5.  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า   
6.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) 
7.  วิธีดำเนินงาน
 8.  แผนปฏิบัติงาน  
 9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
 10. เอกสารอ้างอิง
จะเห็นได้ว่าการเขียนโครงจะทำตามขั้นตอนแต่หมวก 6 ใบจะคิดแบบอิสระ

เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats)  เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ  เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า

       ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
 คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ       
  1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ตอบ  ไม่  เพราะว่าเดียวทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ค่อยหันมารับประทานของที่มีประโยชน์ 
   2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
ตอบ  ไม่ค่อยมี เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยหันมาออกกำลังกายแต่กลับเป็นว่ามารับประทานขนมแทนและก็นอนหลับพักผ่อน      
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
ตอบ  ไม่  เพราะ เด็กไทยควบคุมอาการดีใจไม่ได้เกินตัวเลยไม่รู้ว่าเรากำลังดีใจมากเกินไปในขณะนั้น
 4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
ตอบ  ไม่ ส่วนใหญ่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะเน้นทางวิชาการมากกว่าสุขภาพกายและสุขภาพจิตในการรู้จักคิด  กล้าแสดงออก
  5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ตอบ  มากเพราะถ้าคนเราเก่งมากเกินไปไม่มีเวลาพักผ่อนอาจจะเกิดจากความเครียดได้เช่นกัน
 6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
ตอบ  เพื่อได้รู้พฤติกรรมของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนและมีปัญหาทางครอบครัว ที่สำคัญมีปัญหาสิ่งเสพติดของนักเรียน และได้ใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อได้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้  มีความสนิทสนมกันมากขึ้นกว่าเดิม
   7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ตอบ    มี เพราะว่ามีกระบวนการคิด  การสร้างสรรค์  การริเริ่ม กระบวนต่างๆและการฝึกสมองของเด็กด้วย
 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
ตอบ  น้อย
 9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ตอบ   มีคะการประเมินศักยภาพของนักเรียน

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12

ภาพความประทับใจ


การศึกษาภาคสนาม
นางสาว วิลาวรรณ  บุญขวัญ   รหัส 5111116025

           ดิฉันประทับใจมากกับการไปเที่ยวครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และได้เห็นความสวยงามของดอกไม้ที่ดอยปุย ดิฉันจึงขึ้นไปบนดอยจะพบกับที่เที่ยวมีดังนี้
         
            อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
มีพื้นที่ประมาณ 262.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 163,162.50 ไร่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอเมือง ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภูเขาที่สูงสลับซับซ้อน ดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้า และดอยปุย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทั้งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญทางศาสนา และทางประวัติศาสตร์
การเดินทาง
การเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนห้วยแก้ว-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-สวนสัตว์เชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ จากนั้นเดินทางต่อไปอีกเล็กน้อยถึงทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

น้ำตกห้วยแก้ว เป็นน้ำตกเล็กๆ สูงประมาณ 10 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6 กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี รอบๆ บริเวณสวยงามด้วยทิวทัศน์และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด นอกจากนี้ยังมีที่พักผ่อนนำอาหารไปนั่งรับประทานกันที่ผาเงิบและวังบัวบานอันเป็นสุสานแห่งความรักของสาวบัวบานผู้ถือรักเป็นสรณะ
 
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพไปยังพระตำหนักฯ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะวันศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ซึ่งปกติจะปิดในช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามจากสำนักงาน ททท.ภาคเหนือเขต 1 (สำนักงานเชียงใหม่)
 
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้องหน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11


การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร 
   หมายถึง  เป็นเทคนิควิธีการ ที่จะช่วยให้ผู้สอนทราบว่า จะต้องสอนและประเมินผลอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรแต่ละวิชากำหนดไว้
     สำหรับดิฉัน หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่  สมรรถนะที่สำคัญ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วนำความสำคัญนั้นมาปรับเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องหรือตรงกับเป้าหมายให้กับผู้เรียน

2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน

3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
               ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไป ในแต่ละครั้งที่เข้าสอน มาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ ศึกษาและค้นคว้า ได้ลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้ามิใช่ความรู้ที่ได้รับจากครูผู้สอนแต่เพียงแหล่งเดียว ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn) มากกว่า สอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็ฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม
                2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล
             3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
              4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
             5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
             6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
             7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
       หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ให้เรียนห้ผู้เรียน
       สำหรับดิฉัน  ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไห้มากที่สุด
 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 
     หมายถึง การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน 
    สำหรับดิฉัน  ในการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น


6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1.  ก่อนนำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
2.  การแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
2.1 หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
                                2.2 ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
    สำหรับดิฉัน  การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไปใช้ใน